Resilient Delivery เทคโนโลยี ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ
เปิดเทรนด์เทคโนโลยี ในช่วงครึ่งปีหลัง 2021 ที่เรียกได้ว่าในปีนี้เป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและนวัตกรรมจริง ๆ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้สังคมโลกเปลี่ยนแปลงไป ทั้งในด้านการดำเนินชีวิตประจำวันและการทำงานที่ผู้ต่างต้องมีการเว้นระยะห่างทางสังคม หรือ Social Distancing
ดังนั้นในบทความนี้เราก็ได้รวบรวมแนวโน้มของเทคโนโลยีในช่วงครึ่งปีหลัง 2021 ด้าน Resilient Delivery หรือเทคโนโลยีที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงการดำเนินธุรกิจให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วถึงแม้ว่าจะทำงานอยู่ในสถานที่ต่างกันก็ตามซึ่งจะมีเทคโนโลยีตัวไหนที่น่าสนใจบ้างนั้นตามมาดูไปพร้อมๆกันได้เลย
1. Intelligent Composable Business
Intelligent Composable Business เป็นรูปแบบธุรกิจที่ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ เพื่อทำให้เกิดการตัดสินใจที่รวดเร็ว ตรงประเด็น และมีความถูกต้องมากที่สุด โดยธุรกิจแต่ละประเภทสามารถออกแบบ Business Model ขึ้นมาใหม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของการบริการ การติดต่อสื่อสาร และการทำงานของพนักงานในองค์กร ซึ่งจะช่วยทำให้ธรุกิจของเราสามารถดำเนินการได้อย่างอัตโนมัติทำให้เป็นระบบมากขึ้น พร้อมทั้งยังช่วยทำให้ธุรกิจปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว สร้างวัฒนธรรมภายในองค์กรที่พร้อมเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยเสมอ เพื่อทำให้องค์กรสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องนั่นเอง ซึ่งการพัฒนาธุรกิจในรูปแบบ Intelligent Composable Business เราควรจะต้องออกแบบโครงสร้างองค์กรที่สามารถรองรับและเข้าถึงข้อมูลใหม่ได้เสมอ เพื่อทำให้องค์กรพร้อมปรับเปลี่ยนได้ทันทีตามเทรนด์เทคโนโลยี
2. AI Engineering
AI Engineering เป็นการนำ AI มาพัฒนาและเตรียมความพร้อมให้สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านการเรียนการสอน การทำงาน และการแปลภาษา เป็นต้น ซึ่งการพัฒนาเทคโนโลยี AI Engineering นี้ เราจะสอนให้ AI เรียนรู้และเข้าใจพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ โดย AI จะต้องสามารถแยกแยะพฤติกรรมที่ถูกและผิดได้ รวมถึงเรื่องการตัดสินใจต่าง ๆ และการทำความเข้าใจในภาษาที่ใช้ในการสื่อสารกันอีกด้วย
3. Hyperautomation
Hyperautomation เป็นระบบอัตโนมัติที่ผสมผสานระหว่าง Machine Learning และ Automation Tool หลาย ๆ ตัวเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น AI, Robotic Process Automation (RPA), Business Process และManagement (BPM) เป็นต้น เพื่อช่วยยกระดับการทำงานขององค์กรให้สามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะอยู่ในช่วงของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่จะต้องทำงานจากที่บ้าน หรือในสถานที่ที่ไม่ใช่องค์กรเท่านั้น แต่ทั้งนี้การนำเทคโนโลยี Hyperautomation เข้ามาใช้งานในองค์กรก็มีข้อควรระวังเช่นกัน เนื่องจากการกระบวนการทำงานของ Hyperautomation ไม่สามารถทำงานย้อนกลับได้และไม่สามารถเข้าไปแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นระหว่างทางการทำงานได้ดังนั้นเราจำเป็นจะต้องมีการวางแผนที่รอบคอบก่อนนำเทคโนโลยีตัวนี้เข้ามาใช้งานภายในองค์กรด้วย
แฟชั่น
Sony PlayStation 5 (PS5)
Sumsung Galaxy A53 5G
AirPods 3