พฤศจิกายน 7, 2024

GENERALTH

Lifestyle

ลูกดื้อตามวัย หรือ เป็นสมาธิสั้น

ลูกดื้อตามวัย หรือ เป็นสมาธิสั้น

          พ่อแม่คนไหนที่กำลังรู้สึกว่าทำไมลูกฉันถึงดื้อถึงซนขนาดนี้? ลูกคนอื่นเขาเป็นแบบนี้กันบ้างไหม? ลูกฉันดื้อผิดปกติหรือเปล่า? ดื้อขนาดนี้ถือว่าเป็นสมาธิสั้นไหม? วันนี้เราจะพาคุณพ่อคุณแม่ไปหาคำตอบให้หายข้องใจ เพื่อให้รับมือกับความดื้อของลูกได้อย่างเหมาะสม

ลูกดื้อตามวัย หรือ เป็นสมาธิสั้น

          โรคสมาธิสั้นเป็นความผิดปกติของสมองที่ส่งผลต่อพฤติกรรมที่พบได้บ่อยในกลุ่มเด็กก่อนอายุ 12 ปี โดยพฤติกรรมที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • ขาดสมาธิ (Attention Deficit) อาการแสดงออก เช่น ทำอะไรได้ไม่นาน ขาดความตั้งใจเวลาที่ต้องใช้สมาธิ เหมือนไม่ค่อยฟังเวลาพูดด้วย วอกแวกง่าย ของหาย หลงลืมบ่อย ๆ เป็นต้น
  • ซน อยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity) อาการแสดงออก เช่น ยุกยิกตลอดเวลา อยู่เฉย ๆ ไม่ได้ ต้องเคลื่อนไหวร่างกายตลอดเวลา พูดมาก พูดไม่หยุด วิ่งปีนป่ายไม่กลัวอันตราย เป็นต้น
  • หุนหันพลันแล่น วู่วาม (Impulsivity) อาการแสดงออก เช่น ใจร้อน รอคอยอะไรนาน ๆ ไม่ได้พูดแทรก ต่อต้าน เจ้าคิดเจ้าแค้น เป็นต้น

ลูกดื้อตามวัย หรือ เป็นสมาธิสั้น

ซึ่งหากพบว่าลูกมีอาการดังที่กล่าวมาแล้ว อาจเข้าข่ายน่าสงสัยว่ามีอาการสมาธิสั้น แต่อย่างไรก็ตาม

          อาจต้องพิจารณารายละเอียดเพิ่มเติม เพราะบางครั้งก็จะพบว่าในเด็กเล็ก โดยเฉพาะช่วง 1-5 ขวบปีแรกอาจจะมีพฤติกรรมซนไม่นิ่งอยากรู้อยากเห็นตามวัยหรือแม้แต่ในวัยรุ่นก็อาจจะมีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นบอกยากวู่วามง่ายก็ปกติเช่นกันหรือสิ่งสำคัญคือเด็กไม่เคยถูกฝึกให้รู้จักอดทนรอคอยอย่างถูกวิธีเลยทำให้ไม่รู้จักการควบคุมตนเองและรอคอยไม่เป็น

ฝึกวินัยอย่างไรได้บ้าง ?

  • สร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีเพื่อให้เกิดความร่วมมือ
  • ฝึกให้ลูกแก้ปัญหา และช่วยเหลือกิจวัตรประจำวันของตัวเองให้ได้มากที่สุดตามวัย
  • ชื่นชมเมื่อลูกทำในสิ่งที่ดี และให้รับผิดชอบการกระทำของตัวเอง เช่น ทำน้ำหกเองให้เช็ดเอง เล่นของเล่นแล้วให้เก็บเอง ฯลฯ
  • ฝึกให้ลูกอดทนรอคอย เช่น ต่อแถวเข้าคิว สะสมคะแนนก่อนได้ของที่ยากได้ รอเวลาก่อนได้สิ่งที่ต้องการ ทำตามกติกาของสังคม ฯลฯ
  • พ่อแม่ผู้ปกครองทำตัวอย่างของคนมีวินัยให้ลูกเห็น

แต่หากลูกได้รับการฝึกวินัยแล้วยังมีอาการขาดสมาธิซนอยู่ไม่นิ่งหุนหันพลันแล่นวู่วามฯลฯอยู่

          ติดต่อกันนานมากกว่า 6 เดือน และพบปัญหาเช่นนี้ทั้งที่บ้านและที่อื่น ๆ อย่างน้อย 2 สถานที่ขึ้นไป มีอาการไม่ว่าจะอยู่กับพ่อแม่หรือกับใคร ๆ จนทำให้ลูกไม่สามารถเรียนได้ ก่อความวุ่นวายกับคนอื่น ๆ และเป็นอันตรายต่อตนเอง นั่นอาจบ่งบอกว่าลูกเป็นสมาธิสั้น หรืออาจมีปัญหาบางอย่าง พ่อแม่จึงไม่ควรมองข้าม  และควรหาโอกาสพาลูกไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที

 

มาทำความรู้จักกับ Safe Zone กันเถอะ