ชาเขียว อาจจะส่งเสริมสุขภาพของกระดูก
เชื่อว่าสายชาเขียวหลายคนกำลังยิ้มแก้มปริเพราะชาเขียว อาจจะส่งเสริมสุขภาพของกระดูกไม่ว่าจะทำให้กระดูกแข็งแรง หรือป้องกันโรคกระดูกพรุนก็ตาม แต่เราต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าชาเขียวที่เรากำลังจะพูดถึงนี้ คือชาที่ได้จากใบชาเขียวแท้ๆ ชงโดยไม่มีการผสมส่วนผสมอื่นนอกจากน้ำกับใบชาลงไป หากใครเป็นสายชาเขียวใส่นมอย่างเพิ่งดีใจเวอร์ไปนะ เพราะความจริงแล้วการดื่มชาเขียวให้ได้ประโยชน์สูงสุดคือการไม่ผสมอะไรเลยนั่นเอง
ทำคัวามรู้จัก “ชาเขียว” กันหน่อย
ชาเขียวที่เราพูดถึงก็คือชาที่ได้จากใบของต้นชาเขียวซึ่งใบนั้นได้ผ่านความร้อนจนทำให้ใบชาแห้งเพื่อลดการทำงานของสารเอนไซน์ที่จะทำให้ใบชาเน่าสลายนั่นเองซึ่งวิธีการนั้นจะทำให้ได้ใบชาที่แห้งแต่ยังสดอยู่ทำให้เวลาใบชาโดนน้ำร้อนจะให้สีเขียวนั่นเองซึ่งสีกลิ่นและรสชาติของชาเขียวนั้นก็จะขึ้นอยู่กับปริมาณสาร Catechin ที่อยู่ในชาด้วย
ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามฤดูกาลที่เก็บเกี่ยวชา และในชาเขียวยังมีสารตัวหนึ่งที่มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุด นั่นคือ สาร Epigallocatechin gallate หรือ EGCG นอกจากนี้ในใบชายังมีสารที่ชื่อว่า Polyphenols ที่มีส่วนช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับกระดูก และป้องกันการเติบโตของเนื้อเยื่อที่ผิดปกติในมดลูกได้อีกด้วย
ชาเขียว อาจจะส่งเสริมสุขภาพของกระดูกได้นะ
เรื่องที่ว่าชาเขียว อาจจะส่งเสริมสุขภาพของกระดูกนั่นได้มีการวิจัยทดลองเอาไว้ถึงคุณประโยชน์ของชาเขียวที่มีต่อกระดูก งานวิจัยแรกได้ทำการบอกผลลัพธ์ว่าการดื่มชาเขียวติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี มีโอกาสเพิ่มความหนาแน่ของกระดูก ซึ่งนำไปสูงการรักษาหรือป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ ส่วนอีกงานวิจัยหนึ่งได้ทำการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเพศหญิงในวัยหมดประเดือนได้ผลออกมาว่า เมื่อทดลองให้กลุ่มตัวอย่างเหล่านี้บริโภคชาเขียวซึ่งมีสาร Catechin ที่ต่อต้านอนุมูลอิสระในปริมาณ 2 แก้วต่อวัน เป็นเวลา 6 เดือนหรือประมาณ 24 สัปดาห์ พบว่าการทำแบบนี้อาจช่วยทำให้กระดูกมีความแข็งแรงขึ้นได้
นอกจากชาเขียว อาจจะส่งเสริมสุขภาพของกระดูกแล้วยังมีงานวิจัยเล็กๆ ในกลุ่มชาวจีนออกมาว่า ชาเขียวอาจช่วยเรื่องความดันโลหิตสูงได้อีกด้วยนะ เพราะว่าสารในใบชาเขียวนั้นอาจจะช่วยลดความดัน Systolic ได้ประมาณ 3.2 มิลลิเมตรปรอท และอาจจะช่วยลดความดัน Diastolic ได้ประมาณ 3.4 มิลลิเมตรปรอท เลยทีเดียว ซึ่งผลนี้สามารถช่วยได้ทั้งในผู้ที่มีความดันปกติและผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง
แฟชั่น
Cyberbullying การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ และทักษะที่ควรรับมือ
เปิด 5 เมืองน่าเรียนต่อในออสเตรเลีย
อาการ Long Covid หลังหายป่วยจากโควิด และผลกระทบที่ตามมา